Category Training

“สอนศิลป์ ถิ่นกวี” สืบสานมรดกภูมิปัญญาศิลปวัฒนธรรมไทย

วธ.เปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “สอนศิลป์ ถิ่นกวี” มุ่งสืบสานมรดกภูมิปัญญาศิลปวัฒนธรรมไทย ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2567   นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “สอนศิลป์ ถิ่นกวี ขับกล่อมดนตรีพื้นบ้าน ร่วมสานงานศิลปวัฒนธรรม” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ จัดขึ้นที่หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา  การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมวัฒนธรรมและมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานและเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาของศิลปวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านศิลปะและดนตรีพื้นบ้าน ให้แก่คนรุ่นใหม่ ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป พิธีเปิดกิจกรรมเริ่มด้วย รศ. ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา…

ข้อสังเกตในพระอัจฉริยภาพ​ด้านวรรณศิลป์ ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ

ข้อสังเกตในพระอัจฉริยภาพ​ด้านวรรณศิลป์ ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดย อ.สถาพร ศรีสัจจัง ชวนตั้งข้อสังเกตความมีอัจฉริยภาพในงานพระราชนิพนธ์ ที่ท่านทรงมีถึง 71 เล่ม ทั้งที่ทรงมีพระราชกรณียกิจมากมาย ท่านทรงเอาเวลาไหนไปทรงงาน นี่คือสิ่งที่เห็นจริงแล้วว่าพระองค์ท่านอัจฉริยะ​ขนาดไหน คำว่า “วิศิษฎศิลปิน” เหมาะสมที่สุด “วิศิษฏศิลปิน” แปลว่า ผู้เป็นเลิศทางศิลปะ ประเสริฐ​เลิศกว่าศิลปินทั้งปวง ทรงเป็นเมธีวัฒนธรรมและผู้มีคุณูปการต่องานศิลปะและวัฒนธรรมเป็นอย่างยิ่ง งานเขียนในโลกมี 2 อย่าง คือ1) งานเขียนเชิงวิชาการ (Academic​ writing)2) งานเขียนเชิงสร้างสรรค์​ (Creative writing​)พระองค์​ท่านทรงงานไว้มากมาย ลักษณะ​ร่วมของงานพระราช​นิพนธ์​ของพระองค์ ทำไมทรงงานได้ลักษณะ​นี้? พิจารณา​จากงานพระราชนิพนธ์​ พบว่า ภาษาเป็นเครื่องมือเปิดโลก เปิดข้อมูล ทำให้บูรณาการเรื่องราวมากมายเป็นงานเขียนที่มีคุณภาพ ทรงรักษาอารมณ์​เด็ก…

พระอัจฉริยภาพด้านวรรณศิลป์ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า ฯ

พระอัจฉริยภาพด้านวรรณศิลป์ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยอาจารย์ชมัยภร แสงกระจ่าง (ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2557) เคยเขียนเรื่องพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่านให้กับนิตยสารสกุลไทย ได้ประมวลงานกวีนิพนธ์ พบว่า ภาพรวม พระองค์ท่านทรงงานทุกประเภท มีงานสารคดี 40 กว่าเล่ม เมื่อเสด็จเยือนประเทศไหน ก็ทรงเขียนสารคดีไว้ทุกที่ สารคดีของพระองค์เป็นสารคดีที่ลึก มีประวัติ มีรายละเอียด มีรากเหง้า แล้วจึงเขียนเล่าเรื่องที่เสด็จเป็นปัจจุบัน ทรงพระราชนิพนธ์งานร้อยแก้ว เรื่อง “แก้วจอมแก่น” และ “แก้วจอมซน” ส่งไปในนาม “แว่นแก้ว” โดยไม่บอกว่าเป็นใคร ทรงเล่าเรื่องง่ายๆ เรื่องที่เกิดขึ้นรอบตัว เป็นงานเขียนที่เกิดอย่างเป็นธรรมชาติ ขั้นตอนที่ท่านศึกษาตั้งแต่เรียนที่โรงเรียนจิตรลดาคือต้องเรียนกวีนิพนธ์ ต้องท่องอาขยาน งานพระราชนิพนธ์ที่เป็นกวีนิพนธ์ของพระองค์ท่าน แบ่งออกเป็น…

“ศิลปินแห่งชาติสืบสายลายศิลป์ ๒๕๖๖” โครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ  สืบทอดศิลปะสร้างแรงบันดาลใจสู่เยาวชน

ร่วมรักษาและสืบทอดศิลปะอันล้ำค่า พัฒนาทักษะและสร้างแรงบันดาลใจ ให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ กับโครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ “ศิลปินแห่งชาติสืบสายลายศิลป์ ๒๕๖๖” วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๓๐ น. นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรมเป็นประธานเปิดโครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ “ศิลปินแห่งชาติสืบสายลายศิลป์ ๒๕๖๖” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สมหมาย ผิวสะอาด อธิการบดีมหาวิทยาลัย กล่าวต้อนรับนางมงคลทิพย์ รุ่งงามฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษา กล่าวถึงความเป็นมาของการจัดกิจกรรมโครงการศิลปินแห่งชาติสัญจร และศิลปินแห่งชาติ กล่าวให้โอวาทแก่ผู้เข้ารับการอบรม พร้อมชมการแสดง “สุนทรียนาฏยกวี” โดยนางรัจนา พวงประยงค์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ปิดท้ายด้วยโชว์สุดพิเศษ “สาน ศิลป์ กวี คีตา”…