Tag Book

เปิดตัว “พระจันทร์เดือนกันยา” นวนิยายเล่มแรกในวัย 70 ของ “กันย์นรา”

ช่วงบ่ายของวันพุธที่ 6 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมาในงานจามจุรีบุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 17 ที่โถงหน้าลิฟต์แก้ว อาคารจามจุรีสแสคว์ มีกิจกรรมเปิดตัวนวนิยายเล่มแรกของ กันย์นรา พิชาพร ในวัย 70 ปี ที่เล่าเรื่องราวของการดิ้นรน การต่อสู้ การถูกกดทับ ความไร้เสียง ของผู้หญิงไทยเชื้อสายจีนกวางตุ้ง ในการเสวนาเรื่อง “พระจันทร์เดือนกันยา: เมื่อปีกกล้าพร้อมฝ่าลมแรง” โดย อาจารย์ชมัยภร บางคมบาง ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ รศ. ดร.สรณัฐ ไตลังคะ ผู้เชี่ยวชาญวุฒิคุณประจำภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คุณกันย์นรา พิชาพร ผู้เขียน “พระจันทร์เดือนกันยา” และมีคุณเกศณี ไทยสนธิ…

นวนิยาย “กี่บาด” ของประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด คว้าซีไรต์ ปี 67

คณะกรรมการตัดสินรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ ประกาศให้ “กี่บาด” ของประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด ได้รับรางวัลซีไรต์ ประเภทนวนิยายประจำปี 2567 คำประกาศคณะกรรมการตัดสินรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ ประเภทนวนิยาย คณะกรรมการตัดสินรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ ได้พิจารณาแล้ว มีความเห็นว่า นวนิยายเรื่อง กี่บาด ของ ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด เล่าเรื่องของ “แม่ญิง” ช่างทอผ้าแม่แจ่มสามรุ่นที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับการทอซิ่นตีนจก นำเสนอผ่านโครงเรื่องการต่อสู้และการส่งต่อมรดกภูมิปัญญาการทอผ้าในบริบทยุคสมัยที่มีความผันแปร โดยใช้กี่ทอผ้าเป็นเสมือนพื้นที่ของผู้หญิงที่เต็มไปด้วยความหมายอันหลากมิติ ทั้งการต่อรองทางเพศสภาพ การต่อสู้กับอคติของจารีต การเก็บงำความทรงจำทั้งดีและร้าย ด้านศิลปะการประพันธ์ กี่บาด มีทั้งขนบวรรณศิลป์แบบดั้งเดิมประสานกับการสร้างสรรค์ใหม่ โดยใช้ศิลปะการทอผ้าและลวดลาย สื่อความหมายและดำเนินเรื่องอย่างมีเชิงชั้น เต็มไปด้วยสีสันท้องถิ่นนำพาผู้อ่านสู่อารมณ์สะเทือนใจ เห็นอกเห็นใจในชะตากรรมของมนุษย์ แม้จะต้องเผชิญประสบการณ์หรือความทรงจำอันปวดร้าวเพียงไร ชีวิตก็ต้องเดินไปข้างหน้า และถักทอเรื่องราวอันเป็นวัฒนธรรมเรื่องเล่าของมนุษยชาติต่อไป คณะกรรมการตัดสินจึงมีมติให้ นวนิยายเรื่อง กี่บาด ของ ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ ประกาศ…

ประวัติศาสตร์หนังสือ

อ่านหนังสือด้วยกัน โดย ชมัยภร บางคมบาง ประวัติศาสตร์หนังสือ ในความไร้ระเบียบของสังคมไทย และความไม่ใช่นักบันทึก และความไร้นโยบายของรัฐบาลในการเก็บข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ ทำให้บ้านเมืองของเราแหว่งเว้าข้อมูลหลายด้าน นักวิชาการในทุกสายทางน่าจะเป็นผู้เข้ามาเติมเต็มในส่วนนี้ได้ถ้ามองเห็น หนังสือชื่อ ประวัติศาสตร์หนังสือ ที่ นัทธนัย ประสานนาม เป็นบรรณาธิการ คือเล่มที่เข้ามาเติมเต็มในส่วนหนึ่งของประวัติวรรณกรรมไทย โดยมาจากแผนงานวิจัยเรื่อง “ประวัติศาสตร์หนังสือกับวรรณกรรมศึกษาในบริบทไทย” ในแผนนี้มีผู้ร่วมวิจัย ๗ คน นำโดยนัทธนัย ประสานนาม แบ่งประเด็นวิจัยต่าง ๆ กันไป ดังนี้ ชุดแรก บานแพนกแห่งศรัทธา : กับประวัติศาสตร์หนังสือของพระมาไลยกลอนสวด โดย พีระ พนารัตน์ กับ พินิจนิทานสุนทรภู่ด้วยการอ่านระยะไกล การกลายเป็นตัวบทในทำเนียบวรรณกรรมสมัยรัชกาลที่ ๕-๖ โดย…

พจนานุกรมเสียงสัมผัส

อ่านหนังสือด้วยกัน โดย ชมัยภร บางคมบาง พจนานุกรมเสียงสัมผัส งานร้อยกรอง เป็นไม้เบื่อไม้เมาของคนเรียนภาษาไทยและไม่เรียนภาษาไทย แต่เป็น “ไม้รักไม้หอม” ของคนรักภาษาไทย แต่กระนั้นเวลาแต่งก็มักมีปัญหา โดยเฉพาะมือใหม่ คือหาคำไม่ทัน ศักดา วิมลจันทร์ สถาปนิกคนหนึ่งจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้รักงานร้อยกรอง ถอดหัวใจชักชวนเพื่อนอักษรได้ ๖ คน อันประกอบด้วย ขนิษฐา สิมะกุลธร ชลิดา ศิรามพุช ดาเรศ โจนวิสุทธิ์ นพมาส แววหงส์ ศิรินนา บุณยสงวน และอัจฉรา เสริมบุตร มาร่วมกันทำ พจนานุกรมเสียงสัมผัส ขึ้น โดยได้แรงบันดาลใจมาจากพจนานุกรมลำดับสระ ของ ลออง มีเศรษฐี…

ร้อยสีพันศัพท์ ฉบับแรก

อ่านหนังสือด้วยกัน โดย ชมัยภร บางคมบาง ร้อยสีพันศัพท์ ฉบับแรก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรัชญา ปานเกตุ เป็นนักภาษาศาสตร์และนักวรรณคดีที่ขยันขันแข็งและทำงานไม่มีวันหยุด เขียนถึงภาษาไทยที่กำลังเคลื่อนไปตลอดเวลา หลังจากออกผลงาน “ศัพท์สรรพรรณนา” และ “ภาษาสรรวรรณศัพท์”ออกมาหนาปึ้กสองเล่มแล้ว ก็ไม่เคยหยุดเขียนตั้งข้อสังเกต ให้ความรู้เรื่องภาษาตลอดเวลา เหมือนคนติดยาแต่เป็นการติดคำ วันไหนไม่ได้เขียนก็คงจะร้อนๆ หนาวๆจับไข้อยากแน่ๆ ล่าสุดนี้เป็นผลงานเล่มเล็กๆ (ไม่ใหญ่เท่าเก่า) เล่าเรื่องคำแบบให้ถูกใจคนรุ่นใหม่ หรือคนในเฟซที่ไม่ชอบอ่านอะไรยาวๆ แถมยังพิมพ์ด้วยตัวหนังสือโตๆ มีการ์ตูนประกอบ เรียกแฟนรุ่นเดอะไปพร้อมกัน ในเล่มนี้ อ่านง่าย อ่านเร็ว ไม่เครียด บางคำค้นลงไปจนได้ความรู้เพิ่ม เช่น คำว่า งำ ที่แปลว่า ปิด บางถิ่นใช้ว่า งวม หรือคำว่า ลืมตา…

กิจกรรมนักเขียนพบนักอ่าน “เล่านิทาน ระบายสี ชุด อลหม่านจานพิเศษ”

สำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์ ร่วมกับ ร้านหนังสือคิโนะคูนิยะ ขอเชิญร่วมงานกิจกรรมนักเขียนพบนักอ่าน “เล่านิทาน ระบายสี ชุด อลหม่านจานพิเศษ” ในวันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน 2567 ที่ร้านหนังสือคิโนะคูนิยะ สาขาเซ็นทรัลเวิลด์ เวลา 15.00 – 16.00 น. พบกับ ครูมีมี่-สรรประภา วุฒิวร ผู้แต่งหนังสือนิทานสองภาษา ชุด อลหม่านจานพิเศษ ประกอบด้วยเรื่อง “ครัวป่วนก๊วนเหมียวกับพุดดิง” “ง่ำ ง่ำ ฟู่!” และ “ขนมไข่อลเวง” ครูมีมี่ ผู้ชอบทำชิ้นงานต่างๆ ขึ้นด้วยมือเป็นพิเศษ โดยเฉพาะงานวาดและงานเขียน ชอบการเล่าเรื่องผ่านทั้งตัวอักษรและภาพ และสนุกกับการทดลองเทคนิคต่างๆ ชอบทั้งเรื่องอาหาร จิตใจ…

คืนหนึ่ง…ค่ำนั้น

อ่านหนังสือด้วยกัน โดย ชมัยภร บางคมบาง คืนหนึ่ง…ค่ำนั้น ผู้เขียนอาจพยายามเล่าเรื่องการฆาตกรรมที่เกิดขึ้นในคืนวันหนึ่งในใจกลางมหานคร แต่เป็นมุมเปลี่ยวอับ ชายคนหนึ่งถูกฆ่าตายและตำรวจก็ลงไปสืบคดีนั้น เป็นตำรวจน้ำดีด้วย คือทำคดีอย่างตรงไปตรงมา ในขณะเดียวกันก็มีคดีลูกตำรวจขับรถชนเด็กตายซ้อนขึ้นมาในช่วงเวลาเดียวกัน ทำให้ตำรวจน้ำดีคนนี้ถูกกดดัน เขาจึงพยายามจะทำให้ดีที่สุดที่ไม่ขัดกับหลักใจของเขา ท้ายสุดในคดีเด็กถูกรถชนเขาสามารถเอาชนะตำรวจและเจ้านายที่กดดันเขาได้ เพราะสื่อแอบถ่ายคลิปตอนสำคัญไว้ ส่วนคดีฆาตกรรมเขารู้หมดแล้ว พัวพันกับคดีเก่าที่เขาเคยทำ แต่เขาไม่ทำอะไรต่อ หากไปบวชและขออโหสิกรรม การเฉลยคดีฆาตกรรมทำผ่านตำรวจน้ำดีคนเดียวเลย อธิบายทุกอย่างเป็นฉากๆ ครบถ้วน คนอ่านไม่ต้องลุ้น ไม่ต้องตาม จบเองดื้อๆ ส่วนแมวก็แค่บรรยากาศ สังเกตได้ว่า เรื่องคนตัวใหญ่ ตำรวจน้ำดีลุยเละ แต่เรื่องคนตัวเล็ก เขาไม่ตามบี้

ริมฝั่งฝัน

อ่านหนังสือด้วยกัน โดย ชมัยภร บางคมบาง ริมฝั่งฝัน หนังสือกลอนเล่มนี้มาด้วยวิญญาณครูภาษาไทย เป็นการรวมเล่มบทกวีประมาณ ๓๐ ชิ้น โดยจัดพิมพ์เรียงลำดับต่อกันไป ทั้งสามสิบชิ้น คล้ายๆจะมีแนวคิดเป็นเรื่องชีวิต แต่ก็พัวพันกันไปหมด เวลาอ่านก็จะไม่ค่อยสะดวก เพราะไม่มีจุดดึงความสนใจให้แยกประเด็น น่าจะจัดแบ่งกลุ่มสักหน่อยจะอ่านง่ายขึ้น บทกวีส่วนใหญ่ชื่อไพเราะงดงาม คนเขียนก็บรรจงจัดเลือกสรรถ้อยคำแบบระมัดระวัง โดยระวังตั้งแต่เนื้อหาไปจนวิธีการ ดังนั้น งานทั้งหมดจึงเป็นเอกภาพรวมกันในความงามของภาษา และเป็นเอกภาพในความร่วมกันของเนื้อหาที่ถูกควบคุมโดยผู้เขียนด้วย เป็นคำสั่งบ้าง เป็นคำสอนบ้าง และเป็นคำคมบ้าง แต่อยู่ในระดับเสมอกัน ไม่แหลม และไม่หลุด กลาง ๆ คล้าย ๆ ออกมาจากภายในความคิดของผู้เขียนเท่านั้น ม้วนและวนอยู่ในตัวเองกับความสุนทรีย์ กลอนขยันพาไปก็เยอะมาก แต่ก็มีความงามอยู่ เรือนใดมีรักผลักดันอยู่เรือนนั้นคืออู่นอนอิ่มฝันเรือนใดแน่นแฟ้นแก่นสัมพันธ์เรือนนั้นล้ำค่าให้ตราตรึง (กรณีนี้วรรคสุดท้าย เรือนนั้นล้ำค่า ตราตรึง…

เมียลับแห่งสยาม

อ่านหนังสือด้วยกัน โดย ชมัยภร บางคมบาง เมียลับแห่งสยาม นวนิยายเรื่องนี้เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ ว่าด้วยเรื่องของออสุต หญิงมอญผู้ทรงอิทธิพลในประวัติศาสตร์การค้าระหว่างสยามกับวิลันดา (ฮอลันดา หรือเนเทอร์แลนด์) ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ผู้เขียนยืนยันว่าได้ศึกษาข้อมูลและค้นคว้าวิจัยจากที่ฝรั่งได้บันทึกไว้อย่างละเอียด และจินตนการเสริมเข้าไปบ้างบางตอน เนื้อเรื่องดำเนินไปตามประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้ทุกประการ คือออสุตเป็นหญิงมอญที่ฉลาด เรียนรู้ภาษาดัชท์และมีโยงใยสายสัมพันธ์กับฝ่ายในของข้าราชการระดับสูงและฝ่ายในในพระราชวัง คาดว่าน่าจะสวยและบุคลิกดีด้วย ดังนั้น จึงเตะตาหัวหน้าสถานีการค้าของวิลันดาถึงสามคนต่อเนื่องกันคือ ฟาน เมียนร์ ไวท์ ฟาน ฟลิต และฟาน เมาเดน เธอจึงได้เป็นเมียลับของหัวหน้าสถานีการค้าต่อเนื่องกันทั้งสามคน เรื่องขึ้นต้นตอนเธอเริ่มเป็นเมียลับนายสถานีคนแรกและจบตอนที่เธอตาย คือเป็นเรื่องของเธอล้วน ๆ โดยน่าจะดำเนินตามเอกสารที่มีการบันทึกไว้เป็นหลัก เพราะอ่านสำนวนและวิธีการนำเสนอแล้วน่าจะเป็นบทแปลและเรียบเรียงมากกว่า เขียนขึ้นเองทั้งหมด การอ่านในระยะเริ่มแรกต้องทำใจให้คุ้นกับสำนวนเสียก่อน จึงจะพออ่านให้ราบรื่นไปได้ ที่น่าสนใจคือ ออสุต แต่ไม่ใช่ออสุตในมุมมองคนไทย แต่เป็นออสุตจากสายตาฝรั่ง สนุกแบบแปลก…

น้ำกับฟ้า

อ่านหนังสือด้วยกัน โดย ชมัยภร บางคมบาง น้ำกับฟ้า สารคดีเรื่อง “น้ำกับฟ้า” ของวิลาศ มณีวัต   เป็นการบันทึกประสบการณ์การเดินทางกลับจากอังกฤษถึงกรุงเทพฯ โดยเรือซีแลนเดีย ของบริษัทอีสต์ เอเชียติก หลังจากการไปทำงานที่สถานีวิทยุบี.บี.ซี. ที่ลอนดอน รวม ๕ ปีเต็ม   โดยเดินทางกลับในระหว่างวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๐๒ จนถึง ๒๔ กันยายน ๒๕๐๒ เป็นเวลา ๑ เดือนกับอีก ๕ วัน   เป็นบันทึกเรื่องราวที่ไม่เพียงทำให้นักอ่านได้เห็นภาพอดีต  อันหาไม่ได้อีกแล้ว  หากยังทำให้คนอ่านสนุกสนานและเปิดโลกไปพร้อมกับผู้เขียน ภาพแรกทีเดียว  ผู้อ่านจะได้เห็นภาพชีวิตครอบครัวของวิลาศ มณีวัตกับคุณหญิงสุรีพันธ์ มณีวัต  ซึ่งตอนนั้นมีบุตรสาวสองคน  คนโตเก้าขวบและคนที่สองหนึ่งขวบ …